ว่าด้วยเรื่องของปัญหาสิว ที่เรียกได้ว่าเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับสาว ๆ อยู่ดี ๆ ก็หาย อยู่ดี ๆ ก็ผุดขึ้นมา ยิ่งวันสำคัญ ๆ ยิ่งชอบโผล่ขึ้นมาให้รำคาญใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสิวฮอร์โมนที่ควบคุมยากกว่าชนิดอื่น
เมื่อพูดถึงสิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) เรามักจะนึกถึงการเป็นสิวในวัยรุ่น เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนมากที่สุด แต่จริง ๆ มีหลายปัจจัย และเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกช่วงวัย
บทความนี้จะพาไปรู้จักกับสิวฮอร์โมน ใครที่กังวลอยู่ อยากรู้ว่า สิวฮอร์โมน ใช้อะไรดี เป็นแล้วต้องรักษาอย่างไร เรามีเคล็ดลับการรักษาสิวฮอร์โมนง่าย ๆ ปลอดภัย ได้ผลชัวร์มาบอกต่อ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย!
สิวฮอร์โมน ใช้อะไรดี [สรุป]
- ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ
- Benzoyl Peroxide
- Azelaic Acid
- Tea Tree Oil
- Salicylic Acid
- ยาปรับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด [จ่ายโดยแพทย์]
สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร
สิวฮอร์โมน เกิดจากความแปรปรวนของฮอร์โมนภายในร่างกาย เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่สามารถพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่น เช่น ประจำเดือน และ ความเครียด
เพราะเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน ที่ชื่อว่า เทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชาย หรือที่เรียกว่า แอนโดรเจน (Androgens) มากขึ้น
ซึ่งการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเหล่านี้ จะไปเป็นตัวกระตุ้นให้มีการผลิตไขมันส่วนเกินมากขึ้น รูขุมขนกว้าง เป็นสาเหตุให้หน้าเรามันเยิ้ม ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย ที่รู้จักกันในชื่อ P. acnes นำไปสู่การเกิดสิวในที่สุด
สิวฮอร์โมน ใช้อะไรดี
1.ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids)
Topical retinoids เป็นยาที่นิยมเลือกใช้เป็นอันดับแรก ๆ ในการรักษาสิว มีทั้งที่เป็นลักษณะของยาทาชนิดครีม และเจล รวมถึงยาชนิดรับประทานด้วย เช่น Tretinoin และ Adapalene
คุณสมบัติหลัก ๆ คือ ผลัดเซลล์ผิวใหม่ ลดริ้วรอย ลดการอุดตันของสิว ลดการอักเสบ แต่ก็มีข้อควรระวัง คือ อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง แพ้แสงแดดง่ายขึ้น สาว ๆ ที่ผิวแพ้ง่ายมาก ๆ อาจต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนซื้อมาใช้
2.เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide)
เป็นยาทาสำหรับรักษาสิว สรรพคุณเด่น คือ ฆ่าเชื้อ P.acne สาเหตุการเกิดสิว ผลัดเซลล์ผิวชั้นนอก ลดการอุดตัน และขจัดความมันส่วนเกิน สิ่งสกปรกที่เป็นต้นตอของปัญหาสิวได้ดี
ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Benzoyl Peroxide มีระดับความเข้มข้น 2.5% และ 5% ให้เลือกซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ไม่ควรเลือกที่ระดับความเข้มข้นสูงกว่า 5% จากการศึกษา ระบุว่า อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง และทำให้ผิวแห้งได้
3.กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid)
เป็นอีกส่วนผสมสำคัญในการรักษาสิว ตัวนี้จะพิเศษตรงที่ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ผลัดเซลล์ผิวได้อย่างนุ่มนวล และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ด้วย
ส่วนใหญ่ถูกจ่ายเป็นยารักษาผลข้างเคียงจากการใช้ Benzoyl Peroxide และ Topical retinoids เรียกได้ว่าสารพัดประโยชน์มากทีเดียว
เมื่อเทียบกับสารตัวอื่น ๆ แล้ว กรด Azelaic ถือว่ามีผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยมาก เหมาะเป็นยารักษาสิวฮอร์โมนของหญิง เพราะปลอดภัยสำหรับคุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตรด้วย ทั้งนี้ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
4.Tea Tree Oil
ทีทรีออยล์ ความเข้มข้นเพียง 5% ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบของสิวได้ แถมยังอยู่ในสกินแคร์รักษาสิวที่เราใช้กันเป็นประจำหลายตัว ทั้งเซรั่มลดสิว ครีมรักษาสิว แต่ควรทดลองก่อนใช้ หากผ่านไป 24 ชั่วโมง แล้วไม่รู้สึกระคายเคือง ค่อยใช้อย่างต่อเนื่อง
5.Salicylic Acid
กรดธรรมชาติยอดฮิต มีในผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการรักษาสิวแทบทุกชนิด เพราะสารตัวนี้มีหน้าที่สำคัญในการช่วยลดการอุดตัน และฆ่าเชื้อ P.acne ได้ แต่ให้ผลน้อยกว่าการใช้ Retinoid และ Benzoyl Peroxide เพราะอ่อนโยนกว่า
สามารถเจอส่วนผสมนี้ได้ง่าย ๆ ใน โฟมล้างหน้า Cerave หรือ โทนเนอร์ลดสิว แบรนด์ดังต่าง ๆ เลย
6.ยาปรับฮอร์โมน [จ่ายโดยแพทย์]
กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์โดยการจำกัด ควบคุม หรือลดผลกระทบของฮอร์โมนแอนโดรเจนที่กระตุ้นการเกิดสิว เช่น
- ยาคุมกำเนิด
- Spironolactone
ทั้งนี้การใช้ยารักษาสิวฮอร์โมนแต่ละตัว จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อควบคุมระยะฮอร์โมนที่ถูกต้องตามสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
วิธีรักษาสิวฮอร์โมน
วิธีการรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาด เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทน และวินัยสูงมาก ซึ่งวิธีการรักษาสิวฮอร์โมนก็มีหลายวิธี ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว ลักษณะการเกิดสิวของแต่ละคน มาดูกันเลยว่ามีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง
รักษาสิวฮอร์โมนตามลักษณะของการเกิดสิว
- สิวหัวดำและสิวหัวขาว (Blackheads and Whiteheads) : สิวอุดตัน ควรใช้สกินแคร์ผลัดเซลล์ผิวที่มีส่วนผสมของ BHA
- สิวอักเสบ (Inflammatory acne) : ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Tropical Retinoid / Tropical Antibiotic หรือ Benzoyl Peroxide
- สิวปานกลางถึงรุนแรง (Moderate to severe acne) : หากสิวมีอาการรุนแรง อาจต้องกินยาปฏิชีวนะช่วยในการรักษา เช่น Isotretinoin เป็นยารักษาสิวที่แรงที่สุด ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
- สิวซีสต์ (Cystic acne) : คุ้นกันดีในชื่อสิวหัวช้าง สิวลักษณะนี้อาจต้องใช้วิธ๊ฉีดสิว ซึ่งเป็นวิธีการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในบริเวณที่สิวอักเสบ วิธีนี้ได้รับความนิยม และทำให้สิวยุบไวกว่าการทายา แต่ไม่ช่วยให้หายขาด
รักษาสิวฮอร์โมนโดยเลือกใช้สกินแคร์ที่เหมาะสม
วิธีรักษาสิวฮอร์โมนง่าย ๆ ทำได้ทุกวันที่บ้าน คือ การเลือกใช้สกินแคร์ที่ดี มีส่วนผสมที่เหมาะกับผิวของเรา และมีส่วนผสมสำหรับการรักษาสิวที่ไม่รุนแรงต่อผิวเกินไป
คำแนะนำจาก คุณ Joyce Imahiyerobo-Ip แพทย์ผิวหนัง ระบุว่า Benzoyl Peroxide สามารถลดการผลิตความมันส่วนเกิน และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
สาว ๆ ที่ผิวแพ้ง่าย อาจเริ่มต้นด้วยโฟมล้างหน้าก่อนก็ได้ เพราะมีความเข้นข้นอ่อนโยนกว่าการรักษาด้วยยาทาเฉพาะจุด
ป้องกันสิวฮอร์โมนด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดี
สิวฮอร์โมน คือ สิวที่มีสาเหตุหลักมาจากการแปรปรวนของฮอร์โมนภายในร่างกาย เวลาแสดงอาการก็จะขึ้นตรงจุดเดิม ๆ เช่น คาง หน้าผาก และแก้ม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนโดยตรงก็คืออาหารนั่นเอง
ถ้าช่วงไหนบริโภคของหวาน ๆ หรือ Junk Food เยอะ ๆ ช่วงนั้นสิวจะเห่อเป็นพิเศษ นั่นก็เพราะ น้ำตาลในของหวานสามารถกระตุ้นฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดสิวได้ ดังนั้น ควรบริโภคแต่น้อย เพื่อป้องกันสิวเห่อ และลดการเกิดสิวฮอร์โมน
ปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญ
เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาสิวฮอร์โมน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข รักษาสิวฮอร์โมนได้อย่างถูกต้องตามเงื่อนไขของแต่ละบุคคล เพราะแต่ละคนล้วนมีปัญหาผิว และฮอร์โมนที่แตกต่างกัน
การได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นวิธีที่ที่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุดนั่นเอง
แนะนำ สกินแคร์รักษาสิวฮอร์โมน
สินค้า | เช็คส่วนลดที่ | จุดเด่น |
La Roche-Posay Effaclar DUO (+) 1,050 บาท |
| |
Cerave Blemish Control Gel 650 บาท |
| |
Plantnery Tea Tree First Toner 350 บาท |
|
แม้การรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาดจะเป็นเรื่องยาก แต่ใช่ว่าจะรักษาไม่ได้เลย! เราได้รวบรวมเคล็ดลับวิธีการรักษาสิวฮอร์โมนทั้งแบบธรรมชาติ ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ทำได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ไปจนถึงการรักษากับผู้เชี่ยวชาญไว้ให้หมดแล้วในบทความนี้
พร้อมปักหมุดพิกัดสกินแคร์ที่จริงใจ คัดมาแล้วว่ารักษาสิวฮอร์โมนให้ดีขึ้นได้จริง สุดท้ายนี้ แนะนำให้พยายามสังเกตว่าสิวฮอร์โมนของเรามักจะขึ้นตรงไหน เพื่อหาทางรักษาที่ถูกต้อง และผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ
อ้างอิง
https://www.medicalnewstoday.com/articles/313084#what-is-acne
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6360964/
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21792-hormonal-acne
https://www.cosmopolitan.com/style-beauty/beauty/a39302473/how-to-prevent-hormonal-acne/