เผยเคล็ดลับ 6 วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือนที่คุณอาจไม่เคยรู้!

อาการปวดท้องประจำเดือน เป็นอาการที่ทำให้ผู้หญิงหลาย ๆ คนไม่สบายตัว มีอาการปวดท้อง ปวดหลัง รวมถึงทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด เนื่องจากอาการเจ็บปวด นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายเพื่อช่วยขับประจำเดือน จึงยิ่งส่งเสริมให้อารมณ์ไม่คงที่มากขึ้นอีกด้วย

ดังนั้น การหาวิธีแก้อาการปวดท้องเมนส์ จะทำให้สาว ๆ สามารถลดอาการเจ็บปวดทางร่างกาย และช่วยลดอาการอารมณ์ไม่คงที่จากอาการไม่สบายตัว

ซึ่งบทความในวันนี้ จะเป็นวิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน ฉบับเห็นผลจริง เผยเคล็ดลับที่จะช่วยให้ผู้หญิงรู้จักทางออกดี ๆ หลาย ๆ ทาง สำหรับการบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน [สรุป]

  • ประคบถุงน้ำร้อน เพื่อคลายกล้ามเนื้อ
  • ออกกำลังกายแบบเบา ๆ
  • เลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกาย
  • นวดเบา ๆ บริเวณท้องน้อย
  • ฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ทานยาแก้ปวดประจำเดือน

วิธีแก้อาการปวดท้องประจําเดือน

1.ประคบถุงน้ำร้อน เพื่อคลายกล้ามเนื้อ

วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน

วิธีบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ที่ได้รับความนิยมมาก คือ การประคบร้อนบริเวณท้องน้อย ไม่ว่าจะใช้ กระเป๋าน้ำร้อน, กระเป๋าน้ำร้อนไฟฟ้า, แผ่นแปะร้อน หรือ DIY ด้วยแก้วใส่น้ำร้อนวางบนผ้าก็ช่วยได้ 

โดยเฉพาะแผ่นแปะร้อน มีผลการศึกษาบอกว่าสามารถแก้ปวดท้องประจำเดือน ซึ่งอาจจะเห็นผลดีกว่าการทานยาไทลินอลเสียอีก อีกทั้งยังใช้ง่าย สะดวกกว่ากระเป๋าน้ำร้อนเป็นไหน ๆ

ไอร้อนที่แผ่ออกมา สามารถคลายกล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียง ทำให้ช่วยบรรเทาอาการปวดได้

นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการปวดหลังจากการมีประจำเดือน ก็สามารถประคบกระเป๋าน้ำร้อนบริเวณที่มีอาการปวดได้  อีกทั้งการแช่หรือการอาบน้ำอุ่น จะช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณท้องน้อย หลัง และต้นขาไปได้พร้อม ๆ กัน

2.ออกกำลังกายแบบเบา ๆ

แม้ว่าวิธีการออกกำลังกาย จะเป็นวิธีแก้ปวดท้องเมนส์ที่สาว ๆ ทุกคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะแค่นอนเฉย ๆ ก็อาจจะทำให้รู้สึกปวดแล้ว แต่หากลองเปิดใจออกกำลังกายแบบเบา ๆ ดู อาจจะช่วยให้อาการปวดหายไปเลยก็ได้

แน่นอนว่าการออกกำลังกายหนัก ๆ มักจะไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการเจ็บปวด แต่การยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ เช่น การเดิน หรือ การเล่นโยคะ อาจจะช่วยได้ เพราะการออกกำลังกาย จะทำให้เกิดการหลั่งสาร endorphins ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ตามธรรมชาติ 

นอกจากนี้ จากการวิจัยยังพบว่า การเล่นโยคะอย่างต่อเนื่อง เพียงอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อย่างน้อย 3 เดือน สามารถช่วยลดอาการปวดท้องเมนส์ได้อย่างเห็นได้ชัด

โดยท่าออกกำลังกายแก้ปวดท้องประจำเดือนง่าย ๆ มีดังนี้

วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน
  • ท่า Child’s pose
  • ท่า knees to chest 

3.เลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกาย

การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นไปที่อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมัน omega-3 ผัก ผลไม้ ถั่ว โปรตีน และ ธัญพืชต่าง ๆ จะช่วยบำรุงรักษาสุขภาพได้อย่างดี

และการดื่มน้ำให้เพียงพอในทุก ๆ วัน ยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้อาการปวดลดลง เพราะการดื่มน้ำไม่เพียงพอ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด ปจด

นอกจากนี้ การดื่มชาสมุนไพรอุ่น ๆ เช่น ชาคาโมมายล์ ชาราสเบอร์รี่ และ ชายี่หร่า จะช่วยผ่อนคลาย แถมยังได้รับประโยชน์จากชาสมุนไพรอีกด้วย โดยเฉพาะชาเขียว และน้ำขิง ที่มีการวิจัยสนับสนุนว่าช่วยลดอาการปวดได้ 

อาการปวดท้องประจำเดือน วิธีแก้อีกวิธีที่เกี่ยวกับการทานอาหาร คือ ควรเลือกทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มีส่วนประกอบของน้ำมันน้อย และเลือกใช้น้ำตาลทรายขาว(refined sugars)ในการประกอบอาหาร ซึ่งอาหารเหล่านี้จะช่วยบำรุงและฟื้นฟูระบบทางเดินอาหารให้ดียิ่งขึ้น

เนื่องจากการมีประจำเดือน เกิดจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งส่งผลต่ออาการปวดท้องประจำเดือน ทำให้การเลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหารในช่วงนี้ จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

4.นวดเบา ๆ บริเวณท้องน้อย

วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน

การนวดเบา ๆ บริเวณท้องน้อย จะเป็นการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดได้ โดยสามารถใช้การนวดโดยน้ำมัน นวดด้วยโลชั่นทาตัว หรือนวดด้วยน้ำมันมะพร้าว ก็จะช่วยให้ขั้นตอนนี้ทำได้ง่าย และผ่อนคลายยิ่งขึ้น

เราสามารถเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยในการนวดได้เช่นกัน โดยจากการศึกษาพบว่า น้ำมันหอมระเหย จะช่วยลดอาการปวดท้องได้ โดยน้ำมันหอมระเหยที่ใช้ ได้แก่ 

  • น้ำมันโรสแมรี่ 
  • น้ำมันคาโมมายล์ 
  • น้ำมันแคลรี่เซจ
  • น้ำมันหอมระเหยสะระแหน่ 

โดยใช้เพียงแค่ 1-2 หยด ก็สามารถช่วยลดอาการปวดได้

โดยมีเคล็ดลับอย่างการนวดกดจุดแบบชิอัตสึ สำหรับลดปวดกระจำเดือนคือ จุด Liver 3 ที่เท้า และหน้าท้องส่วนล่างระหว่างสะดือกับกระดูกหัวหน่าว

5.ฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการปวด

จากการวิจัยพบว่า การฝังเข็ม เป็นวิธีทําให้หายปวดท้อง ปจด ได้อย่างเห็นผล การรักษาในรูปแบบนี้อาจจะช่วยลดอาการอักเสบ และช่วยเพิ่มสาร endorphins ที่ทำให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น

ซึ่งการรักษาด้วยการฝังเข็ม ควรมีการรักษาอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผลมากที่สุด

6.ทานยาแก้ปวดประจำเดือน

หากการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติใช้ไม่ได้ผล เราอาจจะต้องใช้วิธีทําให้หายปวดท้องประจําเดือนด้วยการทานยาเพื่อลดอาการปวด เช่น ยา Aspirin หรือ ยา Ibuprofen

โดยยาเหล่านี้ สามารถลดการอักเสบ ลดอาการปวด และบรรเทาอาการเจ็บปวดจากการมีประจำเดือน แต่หากยาเหล่านี้ไม่ได้ผล อาจจะต้องพบแพทย์ เพื่อปรึกษาว่าร่างกายเรามีความผิดปกติตรงไหนหรือไม่

ปวดท้องประจําเดือน เกิดจากอะไร

การปวดท้องประจําเดือน เกิดจากการที่ผนังมดลูกหดและคลายตัว เพื่อช่วยให้ขับเยื่อบุผนังมดลูกเก่า ออกมาเป็นเลือดประจำเดือน เพื่อที่จะสร้างเยื่อบุผนังมดลูกใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของทารก 

โดยอาการที่เกิดขึ้นจะอยู่ในช่วงก่อน หรือช่วงระหว่างที่ประจำเดือนมา โดยพบว่าผู้หญิงที่มีอาการปวดประจำเดือนจะมีอาการปวดในช่วง 1-2 วันแรก และผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องประจำเดือน มีจำนวนมากกว่าครึ่งของจำนวนผู้หญิงทั้งหมด 

โดยอาการที่พบได้ คือ อาการปวดตึง ปวดหน่วง ปวดลึก ๆ หรือมีอาการปวดตุบเป็นช่วง ๆ บริเวณท้องน้อย และอาจจะเชื่อมโยงทำให้เกิดอาการปวดหลังล่าง หรือปวดบริเวณต้นขาได้ โดยประมาณ 10% ของผู้มีประจำเดือน อาจจะมีอาการรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่จะทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น (อ้างอิง) ได้แก่

  • มีอายุน้อยกว่า 30 ปี
  • มีประวัติในครอบครัวที่มีอาการปวดประจำเดือน
  • มีประจำเดือนมามาก
  • มีประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • สูบบุหรี่
  • การรับประทานอาหาร
  • โรคอ้วน
  • โรคซึมเศร้า
  • ประจำเดือนมาไวกว่าปกติ (มาก่อนอายุ 8 ปี)

อีกทั้งยังมีอาการไม่สบายต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการปวดประจำเดือน ได้แก่

  • อาการวิงเวียน และ คลื่นไส้
  • มีเหงื่อออก
  • อาการท้องเสีย
  • อาการท้องผูก
  • ท้องอืด
  • ปวดหัว

แต่หากพบอาการอื่น ๆ เช่น มีลิ่มเลือดที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ มีอาการปวดท้องนอกเหนือจากช่วงที่มีประจำเดือน หรือมีอาการที่พบได้ปกติในระหว่างช่วงที่มีประจำเดือน แต่มีอาการมากกว่าปกติ จนรบกวนชีวิตประจำวัน ให้ควรรีบปรึกษาและพบแพทย์โดยด่ว

บทสรุป

จากบทความนี้ จะเห็นได้ว่า มีวิธีแก้ปวดท้องประจําเดือนที่หลากหลายมาก ทั้งวิธีการแบบธรรมชาติ วิธีการนวด หรือ การฝังเข็ม รวมถึงมีการใช้สารเคมีผ่านการรับประทานยา เพื่อลดหรือบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ ดังนั้นทุกคน ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด

แต่ถ้าหากบางท่าน พบอาการที่ผิดปกติ ดังเช่นที่บทความได้กล่าวไว้ หรือปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เราก็ควรพบแพทย์ เพราะอาการเหล่านี้อาจจะไม่ใช้แค่อาการปวดประจำเดือนธรรมดา แต่อาจจะเป็นอาการของโรคต่าง ๆ ที่ควรรักษาให้ไวที่สุด

อ้างอิง

https://www.healthline.com/health/womens-health/how-to-get-rid-of-cramps

https://www.everydayhealth.com/treatment/womens-health/ways-to-relieve-period-cramps/

https://www.medicalnewstoday.com/articles/324484

https://www.verywellfamily.com/helping-tween-girls-relieve-menstrual-pain-3288389

Chalita Chamnanmueang

Chalita Chamnanmueang

เบสท์จบการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัจจุบันเป็น Editor และ Content writer ประจำ Mizzyreview มีประสบการณ์เขียน copywriting, แปลบทความอังกฤษ-ไทย และรับผิดชอบตรวจสอบเนื้อหา และตีพิมพ์บทความผ่าน WordPress คอยอัปเดตเนื้อหาหลายๆ ด้าน ทั้งบิวตี้ไอเทม สกินแคร์ อาหารเสริม และเทคโนโลยีต่างๆ ให้สาวๆ ได้เข้าถึงทุกเทรนด์ ทุกไอเทมเด็ดกันค่ะ